นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ 2563 ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รองรับภารกิจตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) รวมทั้งให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) จึงขอกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนี้
การรถไฟฯ ถือว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ และมีคุณค่ายิ่งในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์การดำเนินงานของการรถไฟฯ สู่การเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียน ในปี 2570 และเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรประสบผลสำเร็จ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าประสงค์ และเป้าหมายหลักตามที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟฯ จึงได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทรัพยากรบุคคลของการรถไฟฯ ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2562-2571) โดยแบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ 10 กลยุทธ์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพและการบูรณาการงานร่วมกัน
กลยุทธ์ที่ 1 โครงสร้างองค์กร ค่างานและกระบวนการทำงาน (Re-Organization and Re-Process) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและบูรณาการการบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและไปในทิศทางเดียวกัน
กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
กลยุทธ์ที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อลดปริมาณงานและขั้นตอนในการทำงาน
กลยุทธ์ที่ 5 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพบุคลากรเพื่อการจัดการสมัยใหม่และมีความสามารถในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับภารกิจและแผนงาน
กลยุทธ์ที่ 6 มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจและแผนงานอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ 7 เส้นทางสายอาชีพเพื่อการเติบโตของบุคลากรที่ชัดเจนและแผนการสืบทอดตำแหน่ง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ที่ 8 การบริหารการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งองค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพชีวิตของพนักงาน
กลยุทธ์ที่ 9 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพชีวิตของพนักงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารอัตรากำลัง
กลยุทธ์ที่ 10 การบริหารอัตรากำลัง
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ 2563 ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รองรับภารกิจตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) รวมทั้งให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) จึงขอกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนี้
การรถไฟฯ ถือว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ และมีคุณค่ายิ่งในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์การดำเนินงานของการรถไฟฯ สู่การเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียน ในปี 2570 และเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรประสบผลสำเร็จ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าประสงค์ และเป้าหมายหลักตามที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟฯ จึงได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทรัพยากรบุคคลของการรถไฟฯ ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2562-2571) โดยแบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ 10 กลยุทธ์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพและการบูรณาการงานร่วมกัน
กลยุทธ์ที่ 1 โครงสร้างองค์กร ค่างานและกระบวนการทำงาน (Re-Organization and Re-Process) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและบูรณาการการบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและไปในทิศทางเดียวกัน
กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
กลยุทธ์ที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อลดปริมาณงานและขั้นตอนในการทำงาน
กลยุทธ์ที่ 5 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพบุคลากรเพื่อการจัดการสมัยใหม่และมีความสามารถในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับภารกิจและแผนงาน
กลยุทธ์ที่ 6 มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจและแผนงานอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ 7 เส้นทางสายอาชีพเพื่อการเติบโตของบุคลากรที่ชัดเจนและแผนการสืบทอดตำแหน่ง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ที่ 8 การบริหารการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งองค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพชีวิตของพนักงาน
กลยุทธ์ที่ 9 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพชีวิตของพนักงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารอัตรากำลัง
กลยุทธ์ที่ 10 การบริหารอัตรากำลัง